วันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

แบบทดสอบ บทที่ 5

แบบทดสอบหลังเรียน

คำชี้แจง  จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว แล้วทำเครื่องหมายกากบาท (X)  ลงในกระดาษคำตอบ
1.  ระบบนิเวศประกอบด้วยองค์ประกอบใด
      ก.  สิ่งมีชีวิต  สิ่งไม่มีชีวิต  สิ่งแวดล้อม
      ข.  สิ่งมีชีวิต,  สิ่งแวดล้อม
      ค.  สิ่งไม่มีชีวิต,  สิ่งแวดล้อม
      ง.  สิ่งมีชีวิต,  สิ่งไม่มีชีวิต
2.  ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศได้แก่ปัจจัยใดบ้าง
      ก.  ปัจจัยทางชีวภาพ,  ปัจจัยทางเคมี
      ข.  ปัจจัยทางชีวภาพ,  ปัจจัยทางกายภาพ
      ค.  ปัจจัยทางกายภาพ,  ปัจจัยทางเคมี
      ง.  ปัจจัยทางเคมี,  ปัจจัยอื่นๆ
3.  ระบบนิเวศหมายถึงข้อใด
      ก.  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต
      ข.  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต
      ค.  ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
      ง.  ความสัมพันธ์ของสิ่งแวดล้อมกับสิ่งไม่มีชีวิต
4.  องค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศตรงกับข้อใด
      ก.  ผู้ผลิต,  ผู้บริโภค,  ผู้ย่อยสลาย
      ข.  ผู้ผลิต,  ผู้บริโภค
      ค.  ผู้บริโภค,  ผู้ย่อยสลาย
      ง.  ผู้ผลิต,  ผู้ย่อยสลาย
5.  ปัจจัยชีวภาพในระบบนิเวศหมายถึงข้อใด
      ก.  สิ่งมีชีวิต
      ข.  สิ่งแวดล้อม
      ค.  สิ่งไม่มีชีวิต
      ง.  อุณหภูมิและความชื้น
6.  ปัจจัยทางกายภาพในระบบนิเวศ  หมายถึงข้อใด
      ก.  สิ่งแวดล้อม
      ข.  สิ่งมีชีวิต
      ค.  สิ่งไม่มีชีวิต
      ง.  ผู้ผลิต
-2-
7.  ข้อใดเป็นปัจจัยทางกายภาพในระบบนิเวศ
      ก.  ผู้ผลิต
      ข.  ผู้บริโภค
      ค.  ผู้ย่อยสลาย
     ง.  น้ำและความชื้น
8.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันในระบบนิเวศ
      ก.  นกเอี้ยงกับควาย
      ข.  การแบ่งหน้าที่ของผึ้ง
      ค.  กาฝากกับต้นไม้ใหญ่
      ง.  ดอกไม้กับแมลง
9.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบบภาวะพึ่งพา
      ก.  นกเอี้ยงกับควาย
      ข.  ดอกไม้กับแมลง
      ค.  ไลเคน
      ง.  กาฝากกับต้นไม้ใหญ่
10.  ข้อใดต่อไปนี้เป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศแบบภาวะเกื้อกูล
      ก.  กล้วยไม้กับต้นไม้ใหญ่
      ข.  กาฝากกับต้นไม้ใหญ่
      ค.  นกเอี้ยงกับควาย
      ง.  จระเข้กับนกกระสา





เฉลย
1.ก
2.ข
3.ค
4.ก
5.ง
6.ง
7.ก
8.ข
9.ก
10.ข

แบบทดสอบ บทที่ 4

ข้อสอบพร้อมเฉลยเรื่องธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม


1.โรงงานถลุงพลวงและสังกะสีมีผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมจากสาเหตุใดมากที่สุด

1. น้ำเสียและสารพิษปนเปื้อน
2. แก๊ส CO2
3. เขม่า หมอก ฝุ่น
4. SO2

2.ข้อใดเป็นแร่ที่แบ่งตามประโยชน์ทางเศรษฐกิจ
1. แร่ประกอบหิน
2. แร่อุตสาหกรรม
3. แร่เชื้อเพลิง
4. ถูกทั้ง ก และ ข

3. แร่ชนิดใดที่สามารถนำมาใช้ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการถลุง
1. เหล็ก
2. ดีบุก
3. ควอตซ์
4. สังกะสี

4. สารประกอบชนิดใดที่ใช้ในการถลุงแร่
1. ถ่านพีต
2. ถ่านหินลิกไนต์
3. ถ่านโค้ก
4. ถ่านแอนทราไซต์

5. แร่ที่จะนำไปใช้ได้จะต้องผ่านกรรมวิธีถลุงเสียก่อน คือ
1. เพชร ทองแดง เหล็ก
2. ดีบุก ปูนขาว ยิบซัม
3. เพชร ไพลิน รัตนชาติ
4. เหล็ก ทองแดง ดีบุก

6. ถ้านำแร่แคสซิเทอไรด์มาถลุงจะได้อะไร
1. ดีบุก
2. สังกะสี
3. ทองแดง
4. ตะกั่วส่วนบนของฟอร์ม

7. สารปนเปื้อนที่พบในแร่สังกะสีคือสารใด
1. แคดเมียม ตะกั่ว พลวง
2. แทนทาลัม ไนโอเบียม เซอร์โคเนียม
3. ตะกั่ว แทนทาลัม
4. พลวง แคดเมียม ทองแดง

8. ในอุตสาหกรรมนิยมใช้ธาตุใดไปรีดิวซ์ Ta2O5 และ Nb2O5 ให้เป็นโลหะ Ta และโลหะ Nb
1. โซเดียม
2. โพแทสเซียม
3. แคลเซียม
4. แมกนีเซียม

9. ข้อใดเป็นความแตกต่างของทับทิมและไพลิน
1. ความแข็ง
2. มลทิน
3. ชนิดของแร่
4. ดัชนีหักเห

10. ธาตุในข้อใดที่ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิกส์
1. Pb
2. Sb
3. Cd
4. Zr







เฉลย

1. 4. SO2
2. 4. ถูกทั้ง ก และ ข
3. 3.ควอตซ์
4. 3.ถ่านโค้ก
5. 4. เหล็ก ทองแดง ดีบุก
6. 1.ดีบุกส่วนบนของฟอร์ม
7. 4.พลวง แคดเมียม ทองแดง
8. 3.แคลเซียม
9. 2.มลทิน
10. 4. Zr




แบบทดสอบ บทที่ 3

1.จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3 เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ  คือข้อใด
   ก. 4 , 4 , 0 , 3     ข. 6 , 3 , 1 , 0       ค. 4 , 3 , 0 , 3      ง. 5 , 4 , 1 , 0

2. พันธะเดี่ยว หมายถึงอะไร
    ก. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 1 คู่
    ข. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่
    ค. พันธะที่เกิดจากการใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่
    ง. พันธะที่เกิดจากการใช้์อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวร่วมกัน 1 คู่

3. ธาตุในข้อใด เกิดพันธะโคเวเลนต์กับธาตุคลอรีนได้ดีที่สุด

    ก. Na                ข. Ra             ค. C                 ง. Cs
4. สมบัติทางกายภาพในข้อใด ที่ใช้อธิบายสมบัติทางเคมีของอโลหะ
    ก. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมใหญ่ สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    ข. พลังงานไอออไนเซชันต่ำ ขนาดอะตอมใหญ่ อิเล็กโทรเนกาติวิตีต่ำ
    ค. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก สัมพรรคภาพอิเล็กตรอนน้อย
    ง. พลังงานไอออไนเซชันสูง ขนาดอะตอมเล็ก อิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง
5. ธาตุ Z มีพลังงานไอออไนเซชันตั้งแต่ลำดับที่หนึ่งถึงลำดับที่ 8 เป็นดังนี้ 1.320, 3.395, 5.307, 7.476, 10.996, 13.333, 71.343, 84.086 ธาตุ Z มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่าใด

    ก. 1                ข. 4                ค. 6                ง. 7

6. ตารางแสดงค่าพลังงานพันธะเฉลี่ยในสารไฮโดรคาร์บอน
ชนิดพันธะ
พลังงานพันธะ
C - H
413
C - C
348
การสลายพันธะโพรเพน (C3H8)  0.5 โมล จะต้องใช้พลังงานมากกว่าหรือน้อยกว่าการสลายพันธะอีเทน (C2H6)  0.5 โมล  เท่าไร
     ก. มากกว่า 587 kJ     ข. น้อยกว่า 283 kJ      ค. มากกว่า 526 kJ     ง. น้อยกว่า 278 kJ

7. เหตุใดสารโคเวเลนต์ จึงมีจุดเดือด จุดหลอมเหลวต่ำ
    ก. สารโคเวเลนต์มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อย       ข. สารโคเวเลนต์มักสลายตัวได้ง่าย
    ค. สารโคเวเลนต์ไม่มีประจุไฟฟ้า                                   ง. สารโคเวเลนต์มักมีโมเลกุลขนาดเล็ก
8. สารละลายที่เกิดจากธาตุหมู่ 1 กับน้ำ มีสมบัติอย่างไร
    ก. เป็นกลาง     ข. เป็นได้ทั้งกรดและเบส      ค. เป็นกรด       ง. เป็นเบส

9. สาร X เป็นโมเลกุลไม่มีขั้ว สาร Y เป็นโมเลกุลมีขั้ว ส่วนสาร Z เป็นพันธะไม่มีขั้ว ถ้าขนาดของโมเลกุลของ X>Y>Z แล้วสาร X Y และ Z ควรเป็นดังข้อใด

    ก. CH2 , NH3 , C6H6      ข. BeCl2 , CH2Cl2 , S8      ค. Br2 , H2O , H2      ง. SiH4 , PCl3 , PCl5

10. กำหนดค่า EN ของธาตุดังนี้ A = 3.0 , B = 2.8 X= 2.7 , Y = 3.7 จงเรียงลำดับความแรงขั้วจากมากไปน้อย

      ก. A-B , B-X , X-Y     ข. A-Y , B-X , A-X     ค. Y-B , A-Y , A-X     ง. A-X , B-Y , A-Y





1. ก

2. ก

3. ค

4. ง

5. ค

6. ก

7. ก

8. ง

9. ค


10. ค




วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2560

แบบทดสอบบทที่ 2

เรื่องดิน  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  2
1.ลักษณะของดินชั้นบนกับดินชั้นล่างต่างกันอย่างไร
1.ดินชั้นบนมีฮิวมัสมากกว่า            2. ดินชั้นบนมีความพรุนน้อยกว่า
3.สีของดินชั้นบนจางกว่าดินชั้นล่าง 4.ดินชั้นบนมีขนาดของเม็ดดินเล็กกว่า
2.ชั้นที่ต้นไม้มาปกคลุม  มีเศษใบไม้  ผิวดินมีฮิวมัสอยู่มาก  ดินมีความอุดมสมบูรณ์คือดินชั้นอะไร
1.ชั้น O                       2.ชั้น A
3.ชั้น B                        4.ชั้น C
3.ชั้นที่มีการสะสมตะกอนและแร่  มีองค์ประกอบของเหล็ก อะลูมิเนียม  คาร์บอเนต และซิลิกา ถูกชะล้างลงมาจากดินชั้นบน  ทำให้ดินมีเนื้อแน่น  มีความชื้นสูงคือดินชั้นอะไร
1.ชั้น O                       2.ชั้น A
3.ชั้น B                        4.ชั้น C
4.ดินเกิดขึ้นจากกระบวนการใด
A การสลายของหิน
B การสลายของแร่ธาตุ
C การทับถมของจุลินทรีย์ในดิน
D การสลายตัวของซากพืชซากสัตว์
1. ข้อ A และ B                  2. ข้อ A B และ C
3. ข้อ A B และ D              4 .ถูกทุกข้อ
5.คำว่า “ชั้นดินแร่” หมายถึงอะไร
1. เป็นชั้นที่มีแร่ที่สลายตัวพร้อมที่จะเป็นธาตุอาหารของพืช
2. ชั้นที่มีอินทรียวัตถุที่สลายตัวแล้วผสมคลุกเคล้ากับแร่ธาตุในดิน
3. เป็นชั้นที่มีการสะสมตะกอนและแร่ที่เป็นองค์ประกอบหลักของดิน
4. ชั้นที่มีแร่เป็นองค์ประกอบหลักสลายตัวออกมาจากหินที่เป็นต้นกำเนิดดิน
6.ส่วนประกอบที่ทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดคือข้อใด
1.ปริมาณเกลือแร่                            2.ปริมาณสินแร่ชนิดต่างๆ
3.ปริมาณซากพืชซากสัตว์                4.ปริมาณน้ำและอากาศในดิน
7.การผุพังสลายตัวของ หิน แร่ และเศษซากพืชและสัตว์  วัสดุที่เกิดจากการแปรสภาพอยู่กับที่ หรือเป็นพวกตะกอนต่างๆ ที่ถูกเคลื่อนย้ายมาจากแหล่งอื่น แล้วมาทับถมอยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง   ที่กล่าวนั้นเป็นปัจจัยใด
1.ภูมิประเทศ                      2.วัตถุต้นกำเนิด
3.สิ่งมีชีวิต                        4.ภูมิอากาศ
8.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่ออัตราการไหลบ่าของน้ำ การชะล้างพังทลายของดิน การทับถมของอินทรียวัตถุในดินคือปัจจัยใด
1.ภูมิประเทศ                      2.เวลา
3.สิ่งมีชีวิต                        4.ภูมิอากาศ
9.วัตถุต้นกำเนิดดินคือข้อใด
1.ซากพืชซากสัตว์                 2.ฮิวมัส
3.อินทรียสาร                        4.หินและแร่
10.ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของดินชั้นบน
1. มีเนื้อละเอียดสีจาง      2.มีปุ๋ยและฮิวมัสมาก
3.มีเนื้อหยาบสีดำคล้ำ    4.มีความพรุนมาก





เฉลย
1.1                                                             2.1
3.3                                                             4.4
5.2                                                              6.3
7.2                                                              8.1
9.3                                                             10.1

แบบทดสอบบทที่ 1

แบบทดสอบ

1. ข้อใดให้ความหมายของความหลากหลายทางชีวภาพได้ถูกต้องที่สุด
ก. การมีสิ่งชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่รวมกัน ณ สถานที่หนึ่งในระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่ง
ข. สิ่งมีชีวิตหลายๆ ชนิดอยู่ร่วมกัน
ค. สิ่งมีชีวิตหลายๆชนิดอยู่ร่วมกันในระบบนิเวศน์หนึ่งๆ
ง. สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวอาศัยร่วมกันมีความหลากหลายทางพันธุกรรมทำให้เกิดสายพันธุ์ต่างๆ

2. สภาพแวดล้อม ที่เป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ รวมไปถึงสิ่งไม่มีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นปัจจัยทางกายภาพได้แก่อะไรบ้าง
ก. สารเคมี กรด เบส ดิน
ข. อุณหภูมิ ความชื้น ดิน พลังงาน
ค. อุณหภูมิ ความชื้น ดิน น้ำ
ง. ดิน น้ำ ความชื้น สารเคมี

3. พืชมีวิวัฒนาการจากสาหร่ายพวกใด
ก. สาหร่ายพวก Charophycean
ข. สาหร่ายพวก สีเขียวแกมน้ำเงิน
ค. สาหร่ายพวก สไปรนีน่า
ง. สาหร่ายพวก Charotophy

4. สัตว์สามารถจำแนกออกเป็นประเภทใหญ่ๆ กี่ประเภท อะไรบ้าง
ก. 3 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
ข. 3 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลือดอุ่น
ค. 2 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
ง. 2 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

5. Artificial system เป็นการจำแนกสิ่งมีชีวิตโดยอาศัยหลักการใด
ก. พิจารณาความสัมพันธ์ ทางวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและการมีบรรพบุรุษร่วมกัน
ข. อาศัยหลักธรรมชาติ ลักษณะภายนอก ลักษณะภายใน พฤติกรรมและนิเวศวิทยา
ค. พิจารณาลักษณะภายนอก ลักษณะภายใน เอมบริโอและลักษณะทางชีวเคมี
ง. พิจารณาลักษณะภายนอกทั่วๆ ไปเท่าสังเกตได้ ลักษณะคล้ายกันจัดอยู่พวกเดียวกัน ลักษณะแตกต่างกันจัดแยกกันออกไป

6. ข้อใดคือหลักเกณฑ์ในการจำแนกสิ่งมีชีวิต
ก. ลักษณะที่อยู่อาศัย
ข. ลักษณะโครงสร้าง
ค. ลักษณะพฤติกรรม
ง. ลักษณะการดำรงชีวิตในระบบนิเวศน์

7. อาณาจักรของสิ่งมีชีวิตแบ่งได้เป็นกี่อาณาจักร
ก. 2 อาณาจักร
ข. 3 อาณาจักร
ค. 4 อาณาจักร
ง. 5 อาณาจักร

8. เห็ดเป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในอาณาจักรใด
ก. อาณาจักรโมเนอรา (kingdom Monera)
ข. อาณาจักรโพรทิสตา (kingdom Protista)
ค. อาณาจักรฟังไจ (kingdom Fungi)
ง. อาณาจักรพืช (kingdom Plantae)

9. สิ่งมีชีวิตชนิดใดมีจำนวนชนิดมากที่สุดรองจากสาหร่าย
ก. เห็ดรา
ข. โปรโตซัว
ค. พืช
ง. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

10. หนอนทะเลเป็นสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมใดต่อไปนี้
ก. phylum Coelenterata
ข. phylum Platyhelminthes
ค. phylum Mollusca
ง. phylum Annelida



1. ก. การมีสิ่งชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่รวมกัน ณ สถานที่หนึ่งในระบบนิเวศน์ใดระบบนิเวศน์ 
2. ค. อุณหภูมิ ความชื้น ดิน น้ำ
3. ก. สาหร่ายพวก Charophycean
4. ค. 2 ประเภท ได้แก่ สัตว์มีกระดูกสันหลัง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
5. ง. พิจารณาลักษณะภายนอกทั่วๆ ไปเท่าสังเกตได้ ลักษณะคล้ายกันจัดอยู่พวกเดียวกัน ลักษณะแตกต่างกันจัดแยกกันออกไป 
6. ข. ลักษณะโครงสร้าง
7. ง. 5 อาณาจักร
8. ค. อาณาจักรฟังไจ (kingdom Fungi)
9. ข. ข. โปรโตซัว
10. ง. phylum Annelida